"Loading..."
  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

ยูเนสโก ประกาศให้ ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก

ความสำคัญของพื้นที่ประกอบด้วย สังคมพืชกึ่งอัลไพน์ ที่เชื่อมโยงกับสังคมพืชในเทือกเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ของจีน ภูมิประเทศเขาหินปูน ภูมิปัญญาเหมืองฝาย ตัวอย่างกลไกการจ่ายแทนคุณระบบนิเวศ ในพื้นที่บ้านปางมะโอ พื้นที่แกนกลางที่ได้รับการดูแลโดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มาเป็นเวลากว่า 40 ปี และศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ โดยมีการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เข้มข้น โดยเฉพาะเส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยหลวงเชียงดาว

พื้นที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีความโดดเด่นด้านภูมิทัศน์ด้วยภูเขาหินปูนโดดเด่น มีดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับสาม ของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำปิงตอนบน โดยมีทั้งระบบนิเวศดั้งเดิมที่ได้รับการปกปักษ์รักษามาอย่างยาวนาน และพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟูให้คืนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าไม้ มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 40 ปี

ความสูงจากระดับน้ำทะเล/เมตร
พื้นที่/ไร่
จำนวนนักศึกษาธรรมชาติ/ปี

เตรียมตัวให้พร้อม

โทรศัพท์มือถือของคุณ จะช่วยให้เส้นทางศึกษาธรรมชาติสนุกขึ้น

เรียนรู้พื้นที่

ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพื้นที่สงวนชีวมนฑลดอยหลวงเชียงดาว

ศึกษาเส้นทาง

เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนดอยหลวงเชียงดาว

ดาวน์โหลดแอป

เตรียมโทรศัพท์มือถือให้พร้อม ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน แล้วไปกันเลย

ดูแผนที่

สามารถดูแผนที่แบบออฟไลน์ได้ในแอปพลิเคชัน

สังเกต QR Code

ให้สังเกต QR Code ที่อยู่ในแผนที่ซึ่งจะอยู่ตามจุดต่างๆ

สแกน QR Code

เมื่อเจอป้าย QR Code ใช้แอปพลิเคชันสแกน เพื่อดูข้อมูลและเก็บคะแนน

ดอยหลวงเชียงดาว

"เก็บ" แค่ภาพถ่าย "ทิ้ง" ไว้แค่รอยเท้า

สถานที่น่าสนใจเชียงดาว

สินค้าและบริการของชุมชนในพื้นที่

วัดถ้ำผาปล่อง

ก่อนจะเป็นที่ปฏิบัติธรรมอย่างเช่นทุกวันนี้ ในปีพ.ศ. 2503 พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) เป็นพระธุดงค์กรรมฐานศิษย์พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) หรือหลวงปู่มั่น ได้ธุดงค์จาริกมายังที่พักสงฆ์ถ้ำปากเปียง และได้สอบถามชาวบ้านสำหรับหาที่พักอาศัยที่ปลีกวิเวกและเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาในช่วงฤดูหนาว โดยมีนายติ๊บ อุลัย ชาวบ้านถ้ำ เป็นคนนำทางพาหลวงปู่ปีนป่ายภูเขาขึ้นไปตามซอกเล็ก ๆ เพื่อหาถ้ำที่กว้างและอยู่สูง จนกระทั่งได้พบถ้ำผาปล่องในพื้นที่ป่าใหญ่รกชัฏหลังดอยเชียงดาว (มีพระวิปัสสนากรรมฐานนิยมใช้สถานที่แห่งนี้ในการปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่อดีต เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล รวมถึงครูบารศรีวิชัยที่มาสร้างวิหารใกล้ถ้ำเชียงดาว จนปี พ.ศ.2521 พื้นที่บริเวณนี้ได้รับการประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว) เนื่องจากพื้นที่มีลักษณะเป็นหลืบเงาหินชนกันลักษณะเป็นถ้ำเล็ก ๆ มีทางเข้าออกทะลุถึงกันพอใช้เป็นที่พักอาศัยได้และเป็นเส้นทางเดินป่าของนายพราน จึงเป็นเพียงถ้ำที่พักสำหรับดักสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสัตว์ป่าดุร้ายอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เสือ หมี หมูป่าฯลฯ

วัดถ้ำเชียงดาว

ถ้ำเชียงดาวอยู่เชิงเขาของดอยหลวงเชียงดาว ภายในแต่ละถ้ำมีความงามจากปรากฏการณ์ของหินงอกหินย้อย ที่ก่อให้เกิดรูปร่างต่างๆ มีชื่อเรียกตามลักษณะรูปทรง เช่น หินโคมไฟเทวดา หินดอกบัวบาน หินมือยักษ์ หินดอกบัวพันชั้น โดยเฉพาะภายในถ้ำแก้ว บางแห่งเป็นซอกหลืบ เมื่อฉายไฟจะมีประกายระยิบระยับ ที่นี่ยังมีไฮไลท์อยู่ตรงที่มีน้ำใสไหลเย็นจากในถ้ำและบนเขาไหลรวมออกมาเป็นลำธารสู่บริเวณแอ่งน้ำหน้าถ้ำ ซึ่งเต็มไปด้วยฝูงปลาและยังเป็นบริเวณที่ตั้งของวัดอีกด้วย ใครที่ชื่นชอบการเดินถ้ำ สามารถเดินชมความงดงามของหินงอกหินย้อยตามเส้นทางเดินชมถ้ำดังต่อไปนี้

บ้านหัวทุ่ง

ชุมชนบ้านหัวทุ่งอยู่เชิงเขาของดอยหลวงเชียงดาวห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 85 กิโลเมตร ใกล้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์อันสวยงามของดอยหลวงเชียงดาวจากด้านหลังของหมู่บ้าน สภาพอากาศค่อนข้างเย็นในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส และมีอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาว มีความโดดเด่นด้านธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่างแนวต่อเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ซึ่งเป็นเขตต้นน้ำห้วยแม่ลุและห้วยละครที่ไหลลงสู่ลำน้ำปิง ทิศตะวันตกมีชายขอบของผืนป่าใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านยังคงวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดธรรมชาติ คนในชุมชนมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ เช่น ลัวะ ไทลื้อ และคนยอง

ชุมชนบ้านปางแดงใน (ชุมชนปะหล่อง หรือ ดาราอั้ง)

บ้านปางแดง ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและต่อมาภายหลังได้ถูกยกเลิกสัมปทานป่า จึงถูกประกาศเป็นป่าอนุรักษ์ชุมชนปะหล่อง หรือ ดาราอั้งปัจจุบัน ชาวบ้านของปางแดง แต่ดั้งเดิมเป็นชาวปะหล่อง อพยพมาจากประเทศพม่า ในปี พ.ศ.2529 ชุมชนถูกล้อมรอบด้วยป่าสัก ซึ่งมีการดำเนินการปลูกป่าควบคู่กับการปลูกไม้ป่าชาวบ้านของมูลนิธิโครงการหลวง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี 26.3 องศาเซลเซียส สูงสุด 33.4 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 19.2 องศาเซลเซียส

ดูเพิ่มเติม

ผู้สนับสนุน

ผู้สนับสนุนและภาคีเครือข่าย

ติดต่อเรา

มีคำแนะนำติชมหรือข้อคิดเห็น อย่ารีรอที่จะส่งข้อความหาเรา

เวลาทำการ

จันทร์-ศุกร์: 8:00 – 20:00

ที่อยู่

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
จ.เชียงใหม่

โทร
053-456-623
อีเมลล์
doichiangdao2022@gmail.com

www.doichiangdaobiosphere.com ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)