"Loading..."
  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว

สถานที่น่าสนใจเชียงดาว

สินค้าและบริการของชุมชนในพื้นที่

วัดถ้ำผาปล่อง

ก่อนจะเป็นที่ปฏิบัติธรรมอย่างเช่นทุกวันนี้ ในปีพ.ศ. 2503 พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) เป็นพระธุดงค์กรรมฐานศิษย์พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต) หรือหลวงปู่มั่น ได้ธุดงค์จาริกมายังที่พักสงฆ์ถ้ำปากเปียง และได้สอบถามชาวบ้านสำหรับหาที่พักอาศัยที่ปลีกวิเวกและเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาในช่วงฤดูหนาว โดยมีนายติ๊บ อุลัย ชาวบ้านถ้ำ เป็นคนนำทางพาหลวงปู่ปีนป่ายภูเขาขึ้นไปตามซอกเล็ก ๆ เพื่อหาถ้ำที่กว้างและอยู่สูง จนกระทั่งได้พบถ้ำผาปล่องในพื้นที่ป่าใหญ่รกชัฏหลังดอยเชียงดาว (มีพระวิปัสสนากรรมฐานนิยมใช้สถานที่แห่งนี้ในการปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่อดีต เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล รวมถึงครูบารศรีวิชัยที่มาสร้างวิหารใกล้ถ้ำเชียงดาว จนปี พ.ศ.2521 พื้นที่บริเวณนี้ได้รับการประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว) เนื่องจากพื้นที่มีลักษณะเป็นหลืบเงาหินชนกันลักษณะเป็นถ้ำเล็ก ๆ มีทางเข้าออกทะลุถึงกันพอใช้เป็นที่พักอาศัยได้และเป็นเส้นทางเดินป่าของนายพราน จึงเป็นเพียงถ้ำที่พักสำหรับดักสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสัตว์ป่าดุร้ายอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เสือ หมี หมูป่าฯลฯ

วัดถ้ำเชียงดาว

ถ้ำเชียงดาวอยู่เชิงเขาของดอยหลวงเชียงดาว ภายในแต่ละถ้ำมีความงามจากปรากฏการณ์ของหินงอกหินย้อย ที่ก่อให้เกิดรูปร่างต่างๆ มีชื่อเรียกตามลักษณะรูปทรง เช่น หินโคมไฟเทวดา หินดอกบัวบาน หินมือยักษ์ หินดอกบัวพันชั้น โดยเฉพาะภายในถ้ำแก้ว บางแห่งเป็นซอกหลืบ เมื่อฉายไฟจะมีประกายระยิบระยับ ที่นี่ยังมีไฮไลท์อยู่ตรงที่มีน้ำใสไหลเย็นจากในถ้ำและบนเขาไหลรวมออกมาเป็นลำธารสู่บริเวณแอ่งน้ำหน้าถ้ำ ซึ่งเต็มไปด้วยฝูงปลาและยังเป็นบริเวณที่ตั้งของวัดอีกด้วย ใครที่ชื่นชอบการเดินถ้ำ สามารถเดินชมความงดงามของหินงอกหินย้อยตามเส้นทางเดินชมถ้ำดังต่อไปนี้

บ้านหัวทุ่ง

ชุมชนบ้านหัวทุ่งอยู่เชิงเขาของดอยหลวงเชียงดาวห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 85 กิโลเมตร ใกล้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์อันสวยงามของดอยหลวงเชียงดาวจากด้านหลังของหมู่บ้าน สภาพอากาศค่อนข้างเย็นในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส และมีอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาว มีความโดดเด่นด้านธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่างแนวต่อเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ซึ่งเป็นเขตต้นน้ำห้วยแม่ลุและห้วยละครที่ไหลลงสู่ลำน้ำปิง ทิศตะวันตกมีชายขอบของผืนป่าใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านยังคงวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดธรรมชาติ คนในชุมชนมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ เช่น ลัวะ ไทลื้อ และคนยอง

ชุมชนบ้านปางแดงใน (ชุมชนปะหล่อง หรือ ดาราอั้ง)

บ้านปางแดง ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและต่อมาภายหลังได้ถูกยกเลิกสัมปทานป่า จึงถูกประกาศเป็นป่าอนุรักษ์ชุมชนปะหล่อง หรือ ดาราอั้งปัจจุบัน ชาวบ้านของปางแดง แต่ดั้งเดิมเป็นชาวปะหล่อง อพยพมาจากประเทศพม่า ในปี พ.ศ.2529 ชุมชนถูกล้อมรอบด้วยป่าสัก ซึ่งมีการดำเนินการปลูกป่าควบคู่กับการปลูกไม้ป่าชาวบ้านของมูลนิธิโครงการหลวง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี 26.3 องศาเซลเซียส สูงสุด 33.4 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 19.2 องศาเซลเซียส

อุทยานแห่งชาติศรีลานนา

อุทยานแห่งชาติศรีลานนามีพื้นที่ครอบคลุม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (ป่าแม่งัด ป่าแม่แตง และป่าเชียงดาว) โดยรวมเนื้อที่ได้ 1,406 ตารางกิโลเมตร อยู่ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุกสลับแห้งแล้งในเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส

ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาว

การเดินทางไปศูนย์ฝึกช้างเชียงดาว จากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าสู่อำเภอเชียงดาว ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 เชียงใหม่-ฝาง (มาตามป้าย อ.แม่ริม) เดิมเป็นศูนย์ที่รับฝึกลูกช้างเพื่อใช้งานชักลากไม้จริง ต่อมามีการปิดสัมปทานป่าไม้ จึงนำช้างมาบริการนักท่องเที่ยวในการเดินชมป่า และกลายมาเป็นปางช้างเพื่อการท่องเที่ยวในที่สุด จำนวนช้างที่ศูนย์ฝึกมีไม่มาก บริเวณศูนย์ฝึกมีลักษณะพิเศษคืออยู่แวดล้อมกลางธรรมชาติภูเขารายล้อม มีแม่น้ำปิงไหลผ่านกลางปางช้าง

วัดอรัญจอมเมฆ (วัดพระธาตุสามเงา) วัดปางมะโอ

ที่มาของชื่อวัดว่า วัดอรัญจอมเมฆ เนื่องจากหมู่บ้านปางมะโอเป็นหมู่บ้านปางเมี่ยง ซึ่งอยู่บนยอดเขาสูง อากาศหนาวเย็น มีป่าไม้และยอดเขาเรียงรายล้อมรอบ มักจะมีน้ำค้างลงแทบทุกวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกบ้านไม้หลังเล็ก ๆ หรือทำกระต๊อบไม้ไผ่ และปลูกเมี่ยงตามยอดเขา เมี่ยงแถบนี้ได้รับอากาศเย็นและมีน้ำค้างพรมอยู่ตลอดจึงเจริญงอกงามและแตกใบอ่อน มีรสชาติดีเรียกว่า เมี่ยงเหมย โดยใบเมี่ยงก็คือใบชา ส่วนยอดอ่อนใช้ทำใบชา ซึ่งชาเหมยจะมีรสชาติอร่อย ชุ่มคอ กลิ่นหอม รสชาติดีเยี่ยม

สถานีวิจัยเกษตรที่ราบสูงสันป่าเกี๊ยะ

สวรรค์ของผู้หลงใหลธรรมชาติ เป็นหน่วยงานของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เป็นสถานีที่ไว้สำหรับทดลองโครงการพัฒนาที่สูงไทย-ออสเตรเลีย ได้แก่ แปลงทดลองปลูกพืชและผลไม้เมืองหนาว ทั้ง บ๊วย ท้อ รวมไปถึงดอกป๊อบปี้ ซึ่งทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวมาเยือนกันอย่างเนืองแน่นในช่วงฤดูหนาว เพราะในช่วงเช้าจะมองเห็นทะเลหมอกหน้าจากหน้าบ้านพัก กลางคืนจะเห็นดาวเต็มท้องฟ้าและแสงระยิบระยับล้านดวงจากเมืองเชียงดาว อยู่ในทำเลที่สามารถมองเห็นเทือกดอยหลวงเชียงดาวได้อย่างชัดเจนและสวยงาม

www.doichiangdaobiosphere.com ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)